ธรณีประวัติ
โลกของเราเกิดขึ้นมาประมาณ 4600 ล้านปีมาแล้วจากอดีตจนถึงปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมายทั้งวิวัฒนาการ และการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบรวดเร็วหรือค่อยเป็นค่อยไปนั้น ทำให้เกิดรองรอยต่างๆมากมาย และรองรอยเหล่านั้นเราสามารถนำมาศึกษาหาช่วงเวลาต่างๆได้
อายุทางธรณีวิทยาแบ่งเป็น 2 แบบ
- อายุปรียบเทียบ (relative age)
เป็นวิธีทางธรณีวิทยาที่ใช้ในการหาอายุของหิน และกลุ่มหิน ทำได้โดยการศึกษาในภาคสนาม หรือ ศึกษาจากข้อมูลหลุมเจาะเก็บจัวอย่าง เมื่อนำข้อมูลมาศึกษาลักษณะการลำดับชั้นหิน และธรณีโครงสร้าง
- อายุสัมบูรณ์ (absolute age)
เป็นอายุของหิน แร่ และซากดึกดำบรรพ์ ที่สามารถบอกเป็นจำนวนปีค่อนข้างแน่นอน การหาอายุสัมบูรณ์ทำได้โดยการวิเคราะห์หาปริมาณไอโซโทปของธาตุกัมมันตรังสีที่อยู่ในดิน
ซากดึกดำบรรพ์
คือ ซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่บริเวณนั้นก่อนยุคประวัติศาสตร์ เมื่อสัตว์เหล่านั้นตายลง ซากก็ถูกทับถม ฝังอยู่ในดิน ต้อมีโครงสร้างที่แข็งแรง รวมทั้งรอยเท้าที่เป็นแม่พิมพ์ไว้อละเมื่อเวลาผ่านไหตะกอนก็จะมาทับปิดเหมือนหล่อแบบไว้
นอกจากนี้ยังมีบางชนิดที่ไม่เป็นหิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในการเกิดซากนั้น เช่น ซากแมลงในอำพัน
1.ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่บอกอายุได้แน่นอน เนื่องจากมีวิวัฒนาการทางโครงสร้างและรูปร่างอย่างรวดเร็ว มีความแตกต่างในแต่ละช่วงอายุอย่างเห็นเด่นชัด และปรากฏให้เห็นเพียงช่วงอายุหนึ่งแล้วก็สูญพันธุ์ไป
2.ซากดึกดำบรรพ์ในประเทศไทย เช่น ไดโนเสาร์ ที่อำเภอภูเวียง จ.ขอนแก่น เป็นไดโนเสาร์กินพืช เดินสี่เท้า คอและหางยาว ชื่อ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน ต่อมาพบที่ภูกุ้มข้าว จ.กาฬสินธุ์ อีกทั้งยังพบ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น กะโหลกหมูเมอริโคโปเตมัส ซึ่งเคยมีชีวิตเมื่อ 8-6 ล้านปี จะเห็นได้ว่าส่วนมากจะพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในชั้นหินทราย หินทรายแป้ง ซึ่งเป็นหินในยุคไทรแอสสิกตอนปลาย-ครีเตเชียตอนกลางหรือ 200-100 ล้านปี ซากพืช ได้แก่ ใบไม้ ละอองเรณู สปอร์ สาหร่ายทะเล ไม้กลายเป็นหิน
การศึกษาซากดึกดำบรรพ์ และจัดหมวดหมู่อายุ วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และสภาพแวดล้อมตามกาลเวลาที่ค้นพบ จนในที่สุดสามมารถสรุปเป็นมาตราธรณีกาล
ชั้นหินที่อยู่ด้านล่างจะสะสมตัวก่อน และมีอายุมากกว่าชั้นบน นอกจากนี้โครงสร้างทางธรณีวิทยาที่ปรากฏอยู่ในหิน เช่น รอยเลื่อน รอยคดโค้งของชั้นหิน รอยชั้นไม่ต่อเนื่อง ก็สามารถอธิบายประวัติความเป็นมาของพื้นที่นั้นได้ ซึ่งมีความสำคัญในการลำดับชั้นหินตะกอน แต่กรณีที่ไม่มีชั้นหิน จะต้องนำโครงสร้างทางธรณีวิทยามาพิจารณา
นอกจากนี้ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ลอยเลื่อนต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในหิน ทำให้ชั้นหินเอียงเท เคลื่อนที่ออกจากแหล่งเดิม และการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ เช่น น้ำหลาก น้ำถ่วม ทำให้เกิดการสะสมตะกอนมนแนวราบซ้อนกันเป็นกลุ่มของชั้นหิน ก็นำมาใช้เป็นหลักฐานของชั้นหินได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น